วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555


การออกแบบการเรียนการสอน
       การออกแบบระบบการเรียนการสอน มีชื่อเรียกหลากหลาย  เช่น การออกแบบการเรียนการสอน การออกแบบและพัฒนาการสอนไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด  แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือ มาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบแนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอนโดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลรูปแบบการสอน/รูปแบบการเรียนการสอนคือแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดระบบอย่างสัมพันธ์กับทฤษฎี/หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ  และได้รับการพิสูจน์  ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ   สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว   มักประกอบด้วยทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด   ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือเป็นแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่น                             ทฤษฎีการสอน
1.  ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2.  ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3.  ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ
4.  ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5.  ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6.  เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
     การวิเคราะห์    การออกแบบ    การพัฒนา      การนำไปใช้      การประเมินผล                                                                                                         ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ    ในการดำเนินงานใด ๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำถึงถึงประสิทธิผล และประสิทธิภาพ   ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ มาใช้ ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการในการทำงานเนื่องจากระบบจะมีกลไกในการปรับปรุง แก้ไข การทำงานในตัวเองของมันเอง                                                                                                     ความหมายของระบบ    หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้                                                                          จากความหมายข้างต้นระบบจะต้องมี
1.            องค์ประกอบ
2.            องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ
3.            ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ลักษณะของระบบที่ดี
1.             มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2.            มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์
3.            มีการรักษาสภาพตนเอง
4.            มีการแก้ไขตนเอง                                                                                                        ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
หลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน  คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้  และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียน
ปัญหาด้านทิศทาง    ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไรปัญหาด้านการวัดผล    ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน  ผู้สอนจะมีปัญหา  เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่  จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตน          ใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี                                                                                                                                          ปัญหาด้านเนื้อหา  และการลำดับเนื้อหา   ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครูและผู้เรียนเช่นเดี่ยวกัน  ในส่วนของครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน  เนื้อหายากเกินไป  เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย  เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน